เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการความรู้
วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
รูปแบบการจัดการความรู้
รูปแบบการจัดการความรู้
ความรู้ในองค์กรนับเป็นทุนที่สำคัญจึงต้องมีการจัดการความรู้ที่เหมาะสม
ดังนั้นองค์กรต้องเลือกรูปแบบการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับองค์กรของตัวเอง
เพื่อที่จะได้นำรูปแบบนั้นมาประยุกต์ใช้จัดการกับความรู้นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
การที่องค์กรจะเลือกรูปแบบของการจัดการความรู้มาใช้นั้นองค์กรจะต้องศึกษารูปแบบของการจัดการความรู้ต่างๆ
มาเปรียบเทียบกันและ นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
รูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กรก็มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
การเรียนรู้แบบ วงลูปเดียว (Single Loop Learning) การเรียนรู้ในแบบนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อองค์กรเผชิญหน้ากับปัญหาและความผิดพลาดทางการจัดการให้มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
โดยมีการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการสะสมการเรียนรู้
การเรียนรู้แบบลูปซ้อน (Double Loop Learning) เป็นการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและสนับสนุนการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผลซึ่งเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างการเรียนรู้และเป็นที่มาของแบบจำลองธุรกิจใหม่ที่สอดคล้องกับความซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการแข่งขัน
การเรียนรู้แบบลูปสามชั้น (Triple Loop Learning) เป็นการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาหลักการใหม่ที่องค์การสามารถนำไปดำเนินการในขั้นต่อไป
รูปแบบการจัดการความรู้ในประเทศไทย
รูปแบบการจัดการความรู้ในประเทศไทย
มีหลากหลายรูปแบบด้วยกันแต่การนำมาใช้นั้นองค์กรต่างๆ
ก็มีการประยุกต์ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรของตัวเองในครั้งนี้จะกล่าวถึงรูปแบบการจัดากรความรู้ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย
2 รูปแบบ คือ Tuna Model และ Xerox Model และอีก 1 รูปแบบทีจะกล่าวถึงเป็น
Model ที่น่าสนใจที่คิดค้นและพัฒนาโดยคุณณัฐพล รำไพ คือ i-cando
Model โดยมีรายละเอียดของแต่ละรูปแบบดังนี้
1.
Tuna Model (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม, 2548)
แนวคิดรูปแบบการจัดการความรู้
ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในรูปแบบปลาทูนั้น
มีแนวคิดที่ว่า ปลาทู 1 ตัวมีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ซึ่งจะอธิบายว่าแต่ละส่วนคืออะไรมีความสำคัญอย่างไร
เป้าหมาย (ส่วนหัวปลา) หรือ KV (Knowledge Vision)
ส่วนหัวที่ทำหน้าที่มองหาเส้นทางที่เดินทางไป แล้วคิดวิเคราะห์ว่า
จุดหมายอยู่ที่ไหนต้องว่ายแบบใดไปในเส้นทางไหน และไปอย่างไร
ในที่นี้เราจะเปรียบเป็น การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) ก่อนที่เราจะทำงานอะไรซักอย่างเราต้องรู้ก่อนว่าเราต้องการอะไร จุดหมายคืออะไร
และต้องทำอย่างบ้าง
ส่วนกิจกรรม (ตัวปลา) หรือ KS (Knowledge Sharing)
ส่วนลำตัวที่มีหัวใจของปลาอยู่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
ในที่นี้เราจะเปรียบเป็น การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) คือเราจำเป็นต้องสร้างบรรยากาศที่เกิดการเรียนรู้เพื่อให้คนเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
ส่วนการจดบันทึก (หางปลา) หรือ KA (Knowledge Access)
หางปลา ทำหน้าที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเคลื่อนที่ไป
เปรียบเสมือนการเข้าถึงความรู้ (Knowledge
Access) หรือ คลังความรู้ ที่ได้จากการเก็บสะสมความรู้ที่มาจากการแลกเปลี่ยนความรู้
ซึ่งความรู้เหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือ คู่มือต่างๆ
โดยทุกส่วนนั้นมีความสำคัญ และ
เชื่อมโยงถึงกันเพื่อให้การจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหากส่วนใดที่ทำแล้วบกพร่องหรือไม่ชัดเจนก็จะส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ
ตามมาด้วย
ทฤษฎีการจัดการความรู้
การจัดการความรู้
ในเศรษฐกิจฐานความรู้
(Knoeledge-based Economy) ทรัพยากรที่มีค่ายิ่งขององค์การนอกจากบุคลากร
ก็คือ ความรู้ ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางกลยุทธ์ที่สำคัญ องค์การต่าง ๆ
จึงให้ความสนใจในการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) มากขึ้นและมุ่งหวังที่จะนำความรู้มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และชาญฉลาด
ในการสร้างสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะเฉพาะตัว เพื่อสร้างความเจริญเติบโต
และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ความหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
มีผู้ให้ความหมายของการจัดการความรู้ไว้หลากหลาย
ในที่นี้จะขอยกมาเพียงบางท่าน ดังนี้
การจัดการความรู้ คือ
การได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสม สำหรับบุคลากรที่เหมาะสม ในเวลาทีเหมาะสม และช่วยให้บุคลากรสร้าง แบ่งปัน และกระทำสิ่งต่างๆ บนข้อมูล
ในหนทางที่จะทำให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะของนาซ่าและหุ้นส่วน อย่างสามารถพิสูจน์ได้
(Knowledge management is getting the right information to the right people at
the right time, and helping people create knowledge and share and act upon
information in ways that will measurably improve the performance of NASA and
its partners.)
(คณะทำงานการจัดการความรู้ขององค์การนาซ่า NASA Knowledge Management Team, 2545)
การจัดการความรู้ในองค์กร หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ
เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้
รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ,
2548)
การจัดการความรู้เป็นความท้าทายสองประการ ประการแรก
คือ การจัดการข้อมูลข่าวสารและกระบวนการ และประการที่สอง คือ
การจัดการบุคลากรและสภาพแวดล้อมเพื่อให้ความรู้ถูกสร้าง แบ่งปัน
และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ (WHO considers KM to be the dual challenge of, first,
managing information and processes and, second, managing people and their
environment so that knowledge is created, shared and applied more systematically
and effectively.)
(องค์การอนามัยโลก World Health Organization: WHO, 2548)
(องค์การอนามัยโลก World Health Organization: WHO, 2548)
ได้ให้นิยามความหมายของการจัดการความรู้ไว้ว่า “การจัดการความรู้ คือ
การบริหารจัดการที่ส่งเสริมให้คนในองค์กร ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
เพื่อต่อยอดความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่ให้สมบูรณ์
แล้วนำไปใช้สร้างนวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน (บูรชัย
ศิริมหาสาคร, 2550)
การจัดการความรู้ คือ กระบวนการในการสร้าง ประมวล
เผยแพร่ และใช้ความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงาน (ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์, 2552)
การจัดการความรู้
เป็นกระบวนการในการจัดการสภาพแวดล้อม บรรยากาศ หรืออุปกรณ์ เช่น เทคโนโลยี
ที่มีส่วนสนับสนุนหรือเอื้อให้คนในองค์การมีการสร้าง แลกเปลี่ยน แบ่งปัน
กู้กลับคืน และใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีคุณค่าต่อการสร้างสรรค์
และพัฒนาทั้งทางด้านของตัวบุคคลและองค์การให้มีความสามารถที่เป็นประโยชน์
และพร้อมที่จะปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(สุจิตรา ธนานันท์, 2552)
กล่าวโดยสรุป การจัดการความรู้ คือ
กระบวนการในการบริหารจัดการความรู้อย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน
ตั้งแต่กระบวนการในการระบุความรู้ที่มีอยู่ในองค์การ การจัดเก็บรวบรวมความรู้จากบุคลากร
การจัดหมวดหมู่ความรู้ การเผยแพร่องค์ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในการเรียนรู้
จนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้และต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน
เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ขององค์การ
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
meetingroom
การจัดห้องประชุมแบบต่างๆ
การจัดสถานที่สำหรับการประชุม ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการประชุม จึงต้องมีการจัดรูปแบบห้องประชุมไว้หลายรูปแบบ เพื่อให้สอดรับกับการประชุมแบบต่าง ๆ ดังนี้
1. แบบห้องบรรยาย (Classroom-type Seating)
เป็นแบบที่มักใช้ ในโครงการฝึกอบรมหรือการประชุมที่มุ่ง
ให้ความรู้แก่สมาชิกเป็นหลัก ซึ่งจะมีข้อจำกัดในการร่วมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกที่เข้าประชุมหรือฝึกอบรม
ลักษณะของการจัดที่นั่งแบบนี้ จะมีโต๊ะและเก้าอี้ เพื่อจะได้สะดวกต่อการจดบันทึกถ้อยคำของวิทยากรหรือบันทึกสรุปหรือข้อความต่าง ๆ ที่ผู้เข้าประชุมต้องการเขียน
2. แบบการประชุม (Conference-type Seating)
แบบนี้จัดเก้าอี้เป็นวงกลม เป็นแบบที่เหมาะสำหรับการ
ฝึกอบรมหรือการประชุมที่มุ่งเน้นให้สมาชิกที่เข้าประชุมหรือฝึกอบรม ได้แสดงความคิดเห็นแบบกลุ่มใหญ่ และมีการบรรยายจากวิทยากรค่อนข้างจำกัด หรืออาจไม่มีการบรรยายจากวิทยากรเลย
3. แบบตัวยู/ แบบเกือกม้า (Horseshoe Arrangement)
เป็นแบบที่เหมาะสำหรับการฝึกอบรมหรือการ
ประชุมที่มีทั้งการบรรยายจากวิทยากร และการระดมความคิดเห็นแบบกลุ่มใหญ่ของสมาชิกที่เข้าประชุมหรือฝึกอบรม ใช้ในการประชุมฝ่ายเดียวเป็นการให้ความเห็นร่วมกันหรือเพื่อหาข้อยุติร่วมกัน ซึ่งมีประธานเพียงคนเดียว หรืออาจมีรองประธานนั่งร่วมกับประธานที่ประชุมก็ได้
4. แบบโพลีเซียม /แบบอัฒจันทร์ /แบบรูปพัด (Fan-type Seating)
ใช้ในการประชุมเพื่อนำเสนอวิชาการ การแสดงผลวิจัย การอธิบายรูปแบบทฤษฎีต่างๆ เป็นแบบที่มักใช้กับโครงการฝึกอบรมหรือการประชุมที่สนับสนุนให้มีการทำกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกพร้อม ๆ กับการบรรยายจากวิทยากร
5. แบบโรงภาพยนตร์ (Theatre)
แบบนี้ไม่มีโต๊ะ มีแต่เก้าอี้ สามารถนั่งได้จำนวนมาก ใกล้ชิดกัน ผู้เข้าร่วมประชุมมีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้มาก แบบนี้ต้องมีประธานคนเดียว
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)